
ฮีตเตอร์ที่ถูกออกแบบมาอย่างเหมาะสมสามารถมีอายุการใช้งานเป็นปีๆแต่บ่อยครั้งที่เราพบปัญหาอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ที่สั้นผิดปกติปัญหาอาจเกิดขึ้นจากทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้แต่บางครั้งเราสามารถยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ได้ เพียงปฏบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้
- ใช้งานตามค่ากำหนดของฮีตเตอร์ เช่น การจ่ายไฟให้ฮีตเตอร์ ควรตรงตามค่าแรงดันไฟที่ระบุไว้ ถ้าจ่ายไฟเกินฮีตเตอร์จะขาดได้ง่ายเพราะฮีทเตอร์ถูกบังคับให้จ่ายความร้อนเกินจำนวนวัตต์ที่ออกแบบไว้มากตามสูตร Watt = V 2/ R
- V คือโวลท์ที่จ่ายให้ปลายขดลวดฮีทเตอร์ 2 ข้าง
- R คือความต้านทานของลวดฮีตเตอร์
- หากในชุดฮีตเตอร์มีฮีตเตอร์มากกว่า 1 ตัวขึ้นไปควรตรวจสอบการต่อขั้วไฟ ของฮีตเตอร์ให้ถูกต้องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการต่อสะพานไฟ เช่น เปลี่ยนจากการต่อแบบสตาร์ (Y) เป็นเดลต้า (Δ) อาจส่งผลให้ชุดฮีตเตอร์ทำงานเกินขีดจำกัดของตัวเองได้จะทำให้ฮีตเตอร์ขาดง่าย
- ดูแลรักษาขั้วไฟของฮีตเตอร์ให้สะอาดอยู่สม่ำเสมอ
- ฮีตเตอร์แต่ละชนิดมีความแตกต่างในสภาวะการใช้งาน เช่นฮีตเตอร์บางชนิดควรใช้ในอากาศหรือบางชนิดควรใช้ในของเหลวเพราะฉะนั้นไม่ควรสลับเปลี่ยนสภาวะการใช้งานของฮีตเตอร์
- ต่อเนื่องจากข้อ 4 หากฮีตเตอร์ทำงานอยู่ในสภาวะใด ควรคงสภาพนั้นให้ต่อเนื่องที่สุด เช่นหากใช้งานในอากาศต้องมีลมถ่ายเทออกอยู่ตลอดเวลาหรือใช้งานในของเหลวก็ไม่ควรปล่อยให้ของเหลวแห้งขอดเพราะหลักการทำงานของฮีตเตอร์คือการนำพาความร้อนจากตัวฮีตเตอร์ไปสู่อีกวัตถุหนึ่ง โดยอาศัยตัวกลาง เช่นน้ำหรืออากาศ
- หากมีตัวควบคุมอุณหภูมิ (Thermostat) ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เป็นปกติมิฉะนั้นหากตัวควบคุมอุณหภูมิเสีย จะทำให้ฮีตเตอร์ทำงานหนักเกินขีดจำกัด
- บ่อยครั้งที่ตัวฮีตเตอร์มีคราบสกปรก หรือมีตะกรันเกาะอยู่ทำให้ความร้อนถ่ายเทออกจากฮีตเตอร์ไม่ดีเมื่อมีความร้อนสะสมที่จุดนั้นอาจทำให้ตัวฮีตเตอร์เสียหาย เช่น มีรอยร้าวแตกปริส่งผลให้ลวดความร้อนที่อยู่ภายในขาดในที่สุด
- หากเป็นฮีตเตอร์ที่ตัวฮีตเตอร์ต้องแนบติดกับชิ้นงานหรือใส่ลงไปในช่องชิ้นงานควรเลือกฮีตเตอร์ให้มีขนาดเหมาะสม และแนบกับชิ้นงานให้ได้มากที่สุดโดยทั่วไปแล้วความร้อนจะถ่ายเทได้ดีที่สุดกับของแข็ง(ตัวนำความร้อน)ตามด้วยของเหลวและอากาศหากมีช่องว่างระหว่างฮีตเตอร์กับชิ้นงานมากเกินไปจะทำให้ประสิทธิภาพของการถ่ายเทความร้อนลดลง
